นำเข้าแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวที่มาทำงานในประเทศไทยหลักๆ มีอยู่ 2 ประเภทงานคือ งานกรรมกร และ งานรับใช้ในบ้าน ซึ่งกรรมกรจะแยกเปน 2 งานหลักๆ คือ งานก่อสร้าง และการโรงงาน ส่วนใหญ่แล้ว แรงงานพม่าจะชอบเข้ามาทำงานโรงงาน เช่น โรงงานชำแหละไก่ โรงงานชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิค โรงงานไม้พาเลท ส่วนแรงงานกัมพูชาจะเข้ามาทำงานก่อสร้างตามไซต์งานต่างๆ ส่วนคนลาวจะเข้ามาน้อยมากส่วนใหญ่เป็นคนงานตามร้านอาหาร
งานก่อสร้าง
โดยปกติแรงงานที่นำเข้ามาจะไม่มีทักษะในงานที่เฉพาะเจาะจง เช่นงานฉาบ งานก่อ หรืองานพื้น แต่จะเป็นแรงงานที่พร้อมมาฝึกฝนและทำตามงานที่ได้รับมอบหมาย
งานโรงงาน
งานโรงงานเป็นที่ต้องการของแรงงานทั้ง พม่า และ กัมพูชา ยิ่งถ้าเป็นโรงงานที่มีสวัสดิการที่ดีมีที่พัก มีโอที จะยิ่งหาแรงงานได้ง่ายมาก ทางเรามีแรงงานพร้อมคัดเลือกเป็นหลักพันคน นายจ้างสามารถไปคัดเลือกแรงงานได้ถ้าต้องการ
งานเย็บผ้า
งานนี้จำเป็นต้องฝึกฝนมาจากทางต้นทางซึ่งเป๊นทักษะพิเศษ โดยทั่วไปจะต้องใช้เวลาคัดแรงงาน เพราะเป็นแรงงานที่หาอยากพอสมควร
งานรับใช้ในบ้าน
ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานลาว เพราะพม่าไม่ยอมรับในการส่งคนงานมาเป็นรับใช้ในบ้าน เราจะไม่สามารถยื่นขอนำเข้าได้ โดยปกติแรงงานประเภทนี้จะหมุนเวียนภายในประเทศ

หากมีต่างด้าวมาพักอาศัยที่บ้าน หรือเข้ามาทำงาน เข้าของบ้านจะต้องแจ้งที่พักอาศัย กับ ตม ในเขตพื้นที่ของเจ้าบ้านภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากต่างด้าวเข้ามาพัก ไม่เช่นนั้นจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38
ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย
คนต่างด้าวสามารถแจ้งที่พักอาศัยได้ ก่อน 15 วันหรือหลัง 7 วัน นับจากวันครบกำหนด หากเกินกำหนดนัด หรือเกินกำหนดที่จะต้องแจ้งคนต่างด้าวต้องมารายงานตัวด้วยตนเองเพื่อดำเนินการเปรียบเทียบปรับ กรณีที่เกินกำหนดการแจ้งที่พักอาศัยฯ คนต่างด้าวที่มารายงานตัว จะถูกดำเนินการเปรียบเทียบปรับ 2,000 บาท
พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 37(5)
ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมองทราบถึงที่พักอาศัยของตนโดยมิชักช้าเมื่อครบระยะ 90 วันและต่อไปให้กระทําเช่นเดียวกันทุกระยะ 90 วัน ถ้าท้องที่ใดมีที่ทําการตรวจคนเข้าเมองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทําการตรวจคนเข้าเมืองแห่งนั้นก็ได้