นำเข้าแรงงาน MOU นายจ้างทำเอง หรือใช้ บริษัท นจ. แบบไหนดี
MOU นายจ้างทำเอง หรือใช้ บริษัท นจ. (บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จำกัด) แบบไหนดี jdcs ขอวิเคราะห์ให้เป็นแนวทาง และข้อมูลในการดำเนินการ ตามแต่ละประเด็น ดังนี้ เรื่องเงินประกัน – นายจ้างทำเองจะต้องเสียค่าประกันการส่งกลับกับกระทรวงแรงงาน 1,000 บาทต่อแรงงาน 1 คนเหมาสูงสุด 100,000 บาทกรณี 100 คนขึ้นไป – บริษัทนจ. จะต้องวางเงินประกันกับกระทรวงแรงงาน 5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าประกันการส่งกลับ หรือกรณีที่บริษัทมีปัญหากระทรวงแรงงานสามารถหักจากเงินประกันได้เลย ความเสี่ยงในการรับผิดชอบ – นายจ้างติดต่อกับ agency (ประเทศต้นทาง) เองการรับผิดชอบจะเป็นการตกลงระหว่างนายจ้างกับ agency กรณีเกิดข้อพิพาทในประเทศนายจ้างจะต้องดำเนินการเอง...
Read moreBOI และ แรงงานต่างด้าว
สวัสดีครับ นายจ้างและผู้ประกอบการทุกท่าน ตามประกาศ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561 เรื่อง การอนุญาติให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ก่อนที่เราจะว่ากันถึงเนื้อหาในประกาศนั้น เรามารู้กันก่อนว่า BOI คืออะไร – BOI ย่อมาจาก Board of Invesment คือ หน่วยงานหนึ่งที่ก่อตั้งเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุน โดยการดึงชาวต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย ผู้ที่ได้การส่งเสริมจาก BOI ได้สิทธิประโยชน์ ในด้าน ภาษีอากร / ภาษีนิติบุคคล / สิทธิการถือครองที่ดิน / สิทธิการเข้ามาในประเทศไทย ในเนื้อหาตามประกาศเป็นที่ชัดเจนแล้วนะครับว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562...
Read moreหยุด!! ใช้แรงงานเถื่อน
Picture credit : Posttoday สวัสดีครับ.. ประเทศเราในทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่า อาชีพแรงงานเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินไปข้างหน้า ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากนั่นทำให้มีการจ้างแรงงานต่างด้าวหรือแรงงานเพื่อนบ้านเรา ด้วยที่ค่าแรงและผลประโยชน์ที่ตัวแรงงานจะได้รับหลังเข้ามาทำงานมันจูงใจให้พวกเขาเข้ามาทำงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีกระบวนการนำแรงงานเถื่อนเข้ามาทำงานและจ้างแรงงานเถื่อนอีกมากมาย ถามว่าแรงงานเถื่อนคืออะไร? แรงงานเถื่อนคือแรงงานที่ไม่ได้เกิดการจ้างงานภายใต้ความถูกต้องของกฎหมาย ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวคือแรงงานที่ไม่ได้นำเข้ามาอย่างถูกกฎหมายนั่นเอง แล้วการจ้างแรงงานเถื่อนมันส่งผลเสียอะไรล่ะครับ? ถ้าแรงงานไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายกำหนดนั่นหมายถึง จะไม่เกิดการคุ้มครองผลประโยชน์อาจมีการเอารัดเอาเปรียบระหว่างตัวนายจ้างและแรงงาน และแน่นอนว่าแรงงานเถื่อนเป็นส่วนหนึ่งของการค้ามนุษย์ ซึ่งตรงนี้ส่งผลเสียให้กับประเทศเราอย่างมากในเรื่องของมนุษยธรรม และมีผลกระทบเป็นวงกว้างนะครับ นั่นหมายความว่า ผลประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดกับผู้นำเข้าแรงงานเถื่อนและผู้ใช้แรงงานเถื่อน จะทำให้เกิดผลกระทบต่อประเทศและเศรษฐกิจของประเทศในภาคสากลนะครับ เพราะฉะนั้นในฐานะที่ทางเราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ หยุดใช้แรงงานเถื่อนกันครับ หันมาใช้แรงงานที่ถูกกฎหมาย แรงงานถูกกฎหมายไม่ยากอย่างที่คิดครับ….. JDCS
Read moreสิทธิประโยชน์แรงงานต่างด้าว
Cr. กรมประชาสัมพันธ์
Read moreการดำเนินการ MOU แรงงานต่างด้าว
JDCS ขอนุญาตแชร์ข้อมูลเพื่อไว้สำหรับให้ทุกท่านทำความเข้าใจและรับทราบถึงขั้นตอนการปฎิบัติต่างๆ ในการดำเนินการ MOU ของทั้ง 3 สัญชาติ (พม่า กัมพูชา ลาว) ดังนี้ ในการทำ MOU สามารถดำเนินการได้โดย 2 ส่วน คือ นายจ้างยื่นเอง ผู้รับอนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศ (5 ล้าน) ดำเนินการแทนนายจ้าง สิ่งที่นายจ้างต้องสำรวจกรณีที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวในรูปแบบ MOU สำรวจเอกสารส่วนตัวของแรงงานว่าถูกต้องไหม โดยจะมีหลักๆคือ เล่มพาสปอร์ตต้องไม่หมดอายุ วีซ่าต้องไม่ขาด และใบอนุญาตทำงานต้องไม่ขาดและต้องตรงนายจ้าง ถ้าไม่ตรงนายจ้างต้องเปลี่ยนนายจ้าง(ไม่ต้องทำ MOU) กรณีที่กล่าวมาถ้าวีซ่าขาดเกินกำหนดไม่สามารถเสียค่าปรับได้ ต้องส่งแรงงานกลับไปประเทศต้นทางเพื่อทำ MOU เท่านั้น ถ้าจ้างต่อจะมีความผิดทันที (โดยทั่วไปกรณีแบบนี้จะเรียกว่าคนเก่าผลักดันออกเพื่อนำเข้าแบบ MOU)...
Read moreบทลงโทษที่พึงระวังสำหรับนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว
จากนโยบายรัฐบาลเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว จะเห็นได้ว่ามีความคืบหน้าและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศมากขึ้น วันนี้ JDCS มีคำเตือนเพื่อให้นายจ้างได้รับทราบไว้เป็นข้อมูลสำหรับบทลงโทษครับ จะได้เป็นแนวทางให้ปฎิษัติได้ถูกต้อง ดังนี้ บทกำหนดโทษ มาตรา ๑๐๑ ข้อหา/ฐานความผิด คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (ฝ่าฝืนมาตรา ๘) อัตราโทษ ปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อได้ชำระค่าปรับแล้วให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวตามมตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑ * ความผิดตามมาตรา ๑๐๑ ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหาย/พยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ** ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบปรับและเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ...
Read moreประกันสังคม กับ แรงงานต่างด้าว
JDCS ขอว่ากันเป็นข้อๆไปเลยนะครับ Q : แรงงานต่างด้าว ต้องทำประกันสังคมไหม? A : ต้องทำครับ ยกเว้นแรงงานต่อไปนี้ รับใช้ในบ้าน ลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้และเลี้ยงสัตว์ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอด ปี และไม่มีงานลักษณะอื่นรวมอยู่ด้วย Q : แรงงานกลุ่มไหนที่ต้องทำประกันสังคม? A : กลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วมีการยื่นขอใบอนุญาตทำงานแล้ว และ กลุ่ม MOU Q : สำหรับคนทำประกันสุขภาพแล้วยังต้องยื่นประกันสังคมอีกไหม? A : ต้องยื่นครับ แนะนำว่าตอนไปตรวจสุขภาพที่จะมายื่น WP ไม่ต้องทำประกันสุขภาพมาครับเพราะจะซ้ำซ้อน Q : มีแรงงานต่างด้าวแค่ 1 คนต้องยื่นไหม? A : ต้องยื่นครับ...
Read moreหนังสือเดินทางชนิดต่างๆ ของแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศ จะต้องทำหนังสือเดินทาง วีซ่าทำงาน และ เวิร์คเปอร์มิท ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นแรงงานที่ถูกต้องตามหลักสากล แต่ทว่าในช่วงแรกของการนำแรงงานเข้ามาทำงานในประเทศไทยนั้น มักจะลักลอบนำแรงงานเข้ามาแบบผิดกฎหมาย จึงทำให้ในประเทศไทยนั้นมีแรงงานเถื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ทางรัฐบาลจึงต้องการจัดระเบียบแรงงานเถื่อนให้มาอยู่ในระบบให้มากที่สุด จึงได้มีมาตรการ การขึ้นทะเบียนแรงงานเถื่อนมาโดยตลอด โดยจัดตั้งศูนย์เพื่อทำการพิสูจน์สัญชาติขึ้นภายในประเทศเพื่อออกหนังสือที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง และสามารถนำไปตีวีซ่าทำงาน และขึ้นเวิร์คเปอร์มิทได้ เราจึงนำหนังสือเดินทางแบบต่างๆ มาให้เห็นหน้าเห็นตากันครับ เอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง ของประเทศต่างๆมีดังนี้ พม่า Temporary Passport (TP เล่มแดง) มี 2 รุ่น รุ่นแรกอายุ 4 ปี รุ่นสองอายุ 6 ปี Temporary Passport (TP เล่มม่วง) มีอายุ 6 ปี Certificate...
Read moreพรก. การบริหารแรงงานต่างด้าว บทกำหนดโทษ
พร้อมกันหรือยัง? เชื่อว่านายจ้างส่วนใหญ่ตระหนักถึงบทลงโทษใหม่นี้กันแล้ว โดยทางรัฐบาลได้มีมาตรการผ่อนผันคือยังไม่ปรับไปจนถึงต้นปีหน้า ระหว่างนี้นายจ้างต้องดำเนินการจัดการแรงงานของท่านให้มีเอกสารถูกต้องตามกฎหมาย คือจะต้องมี หนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือใช้แทนเอกสารเดินทาง(CI หรือ TD) โดยจะต้องตีตราวีซ่า และมีใบอนุญาตทำงานให้เรียบร้อย โดยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ามาแบบ MOU จะหมดอายุพร้อมกันในวันที่ 31มีนาคม 61 และจะสามารถต่ออายุได้อีก 2ปี จนถึง 31 มีนาคม 63 หลังจากนั้นแล้วแต่มติของรัฐบาลชุดต่อไป
Read more