จากนโยบายรัฐบาลเรื่องการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว จะเห็นได้ว่ามีความคืบหน้าและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศมากขึ้น
วันนี้ JDCS มีคำเตือนเพื่อให้นายจ้างได้รับทราบไว้เป็นข้อมูลสำหรับบทลงโทษครับ จะได้เป็นแนวทางให้ปฎิษัติได้ถูกต้อง ดังนี้
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๑๐๑
ข้อหา/ฐานความผิด
- คนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน
- ทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (ฝ่าฝืนมาตรา ๘)
อัตราโทษ
- ปรับตั้งแต่ ๕,๐๐๐ บาท ถึง ๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อได้ชำระค่าปรับแล้วให้ส่งคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเร็ว เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวตามมตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๓/๑
* ความผิดตามมาตรา ๑๐๑ ไม่ใช้บังคับแก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เสียหาย/พยานในคดีความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
** ในกรณีที่คนต่างด้าวดังกล่าวยินยอมเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการเปรียบเทียบปรับและเมื่อได้ดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๐๒
ข้อหา/ฐานความผิด
- ห้ามรับคนต่างด้าวทำงานโดยที่คนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงาน
- ให้คนต่างด้าวทำงาน นอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดนี้ (ฝ่าฝืนมาตรา ๙)
อัตราโทษ
- ปรับตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง ๑ คน
- ถ้ากระทำผิดซ้ำอีก จำคุกไม่เกิน ๑ ปี/ ปรับตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐ บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง ๑ คน/ทั้งจำทั้งปรับ และห้ามผู้นั้นจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา ๓ ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ
มาตรา ๑๐๓
ข้อหา/ฐานความผิด
- ไม่แจ้งเข้าทำงาน ภายใน ๑๕ วันนับแต่วันที่จ้าง
- ไม่แจ้งออกจากงาน ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่คนต่างด้าวออกจากงาน (ฝ่าฝืนมาตรา ๑๓)
อัตราโทษ
- ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
มาตรา ๑๑๙/๑
ข้อหา/ฐานความผิด
- ไม่แจ้งเข้าทำงานภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เข้าทำงานกับนายจ้าง
- ไม่แจ้งเปลี่ยนนายจ้างภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่เข้าทำงานกับนายจ้างรายใหม่ (ฝ่าฝืนมาตรา ๖๔/๒)
อัตราโทษ
- ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการใช้บริการทาง JDCS เพื่อความถูกต้องของแรงงานต่างด้าวของท่าน สามารถติดต่อทางเราตามช่องทางที่เราแจ้งไว้ได้เลยครับ
0 Comments
Leave a comment